15857 Views |
มาตรฐานสีสายไฟ
ปัจจุบันมาตรฐานสีสายไฟได้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ มอก.11-2553 ซึ่งมาตรฐานเดิมคือ มอก.11-2531 สาเหตุที่เปลี่ยนเนื่องจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ต้องการให้สายไฟทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนในประเทศไทย มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล (Standards IEC 60227 )
หลายคนอาจสงสัยว่า สายไฟแต่ละสีมีความหมายหรือไม่อย่างไร บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยความหมายของแต่ละสีของสายไฟ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
สีดำ (เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล) หมายถึง ลวดความร้อน หรือลวดที่มีกระแสไฟฟ้าและนำพลังงานไปสู่วงจรทั้งหมด ส่วนใหญ่จะจ่ายไฟไปยังเต้าเสียบหรือสวิตซ์ไฟฟ้า
สีแดง (เปลี่ยนเป็นสีดำ) หมายถึง ลวดความร้อนสายที่สองสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น แอร์, เตาอบ , โทรทัศน์ เป็นต้น
สีน้ำเงิน และ สีเหลือง (เปลี่ยนเป็นสีเทา) หมายถึง ลวดความร้อน ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ ที่ใช้ปลั๊กทั่วไป เช่นพัดลม โคมไฟ เครื่องดูดฝุ่นเป็นต้น
สีขาว หรือ สีเทา (เปลี่ยนเป็นสีฟ้า) หมายถึง สายกลางที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า
สีเขียว หมายถึง สายดิน ช่วยป้องกันการเกินไฟฟ้าช็อตได้ ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้
สีของ สายไฟ ตามมาตรฐาน ของประเทศไทยสามารถจำแนกสีได้ดังนี้
สีสายไฟ
สีดำ (เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล) หมายถึง L หรือ L1 ขั้วบวกกระแสไฟฟ้าสายที่ 1
สีแดง (เปลี่ยนเป็นสีดำ) หมายถึง L2 ขั้วบวกกระแสไฟฟ้าสายที่ 2
สีน้ำเงิน (เปลี่ยนเป็นสีเทา) หมายถึง L3 ขั้วบวกกระแสไฟฟ้าสายที่ 3
สีขาว หรือ สีเทา (เปลี่ยนเป็นสีฟ้า) หมายถึง N ขั้วลบศักย์ไฟฟ้าต่ำ
สีเขียว หรือ สีเขียวคาดเหลือง (กำหนดเป็นสีเขียวคาดเหลือง) หมายถึง G สายดิน ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้
ความแตกต่างระบบไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส ดังนี้
ระบบไฟ 1 เฟส ( 220 V )
สายเฟสขั้วบวก (L) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
สายนิวทรัลขั้วลบ (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
สายดินป้องกันไฟรั่วลัดวงจร (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง
ระบบไฟ 3 เฟส ( 380 V )
สายเฟสขั้วบวก (L1) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
สายเฟสขั้วบวก (L2) ฉนวนเป็น สีดำ
สายเฟสขั้วบวก (L3) ฉนวนเป็น สีเทา
สายนิวทรัลขั้วลบ (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
สายดินป้องกันไฟรั่วลัดวงจร (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง