ความรู้เบื้องต้นการดูแลสระว่ายน้ำ

11855 Views  | 

ความรู้เบื้องต้นการดูแลสระว่ายน้ำ

การมีความสามารถเฉพาะตัวในเรื่องเคมีของสระว่ายน้ำนั้นไม่ใช่เรื่องยากหากมีข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง และหากคำนึงถึงสระว่ายน้ำที่สมบูรณ์ สะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ชื่นชอบของนักว่ายน้ำทั้งหลาย ก็จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดูแลในด้านความสะอาดถูกหลักสาธารณสุข อย่างเป็นขั้นตอนและไม่มีปัญหาตามมาแก่สุขภาพของนักว่ายน้ำ มีน้ำที่ใสสะอาดปราศจากสาหร่าย ปลอดจากเชื้อโรคอันจะเป็นผลให้เกิดโรคต่อผู้ใช้สระว่ายน้ำ และไม่มีเสียงบ่นเรื่องตาแดง หรือ กลิ่นเหม็นของคลอรีน ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลสระว่ายนั้นทราบดีว่า เรานิยมใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค การที่จะทำให้การดูแล สระว่ายน้ำเป็นเรื่องง่ายและสะดวก หากมีข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับคลอรีนก็จะทำให้งานยากเป็นง่ายขึ้นมาได้

สารเคมีที่เติมลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จำแนกได้ดังนี้
      - สารประกอบคลอรีน ชนิด แก๊ส ของเหลว ของแข็ง เกล็ด หรือแบบผง และแก๊ซโอโซน
        สารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของน้ำ ได้แก่
     - สารเคมีที่ใช้ในการ ปรับความเป็นกรด - ด่าง สารที่ทำให้น้ำกระด้าง เช่น โซดาแอช แคลเซี่ยม กรดเกลือ หรือโซเดียมไบซัลเฟต
     - สารเคมีตกค้าง (By-product) ,DBP (Disinfection by-produce)
     - กลุ่ม TTHM's ( Total Trihalomethanes ) Trichloromethane, Dibromochloromethane,             Bromodichloromethane,Tribromomethane
     - กลุ่ม Haloacetic acids, Monobromoacetic acid, Dibromoacetic acid, Monochloroacetic  acid, Dichloroacetic acid,Trichloroacetic acid
     - กลุ่ม Chlorite
     - กลุ่ม Bromated , Cyan uric acid, Sulfate Cyan uric acid ใช้ผลิตไตรคลอร์ และไดคลอร์
       ไม่ควรมีในน้ำเกิน 100 ppm , Isocyanuric acid ใช้เติมร่วมกับไตรคลอร์ และไดคลอร์ เพื่อเป็นตัว    Carrier ไม่ควรมีในน้ำเกิน 150 ppm(อัตราส่วนในการใส่สารเคมีในน้ำ 100 คิว = โซดาแอซ 1.3 กก.,    กรดเกลือ  1  กก., น้ำยาเร่งตกตะกอน 0.7 กก., น้ำยาปรับสภาพน้ำ 1.75กก.)

สารประกอบคลอรีน
     ที่นิยมใช้ในสระว่ายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
       1. คลอรีนที่คงตัว (Stabilized Chlorine) ได้แก่ Trichloroisocyanuric acid [TCCA], Sodium   dichlorocyanurate [SDCC] คลอรีนจะถูกทำลายได้ง่ายในแสงอาทิตย์ และในวันที่แดดจัด คลอรีน   อาจหายไป 2 ppm ภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่เมื่อมีกรดไซยานูริก จะช่วยลด การสูญเสียคลอรีน ทำให้   คลอรีนอยู่ในน้ำได้นานขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หากมีการตกค้างของกรดไซยานูริกเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เกิด   "over-stabilized" และเกิด "chlorine lock" นั่นคือ สภาวะที่มีคลอรีนในสระว่ายน้ำ แต่ไม่มี     ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ เนื่องจากถูกจับไว้โดยกรดไซยานูริก
      2. คลอรีนไม่คงตัว (Unstabilized Chlorine) ได้แก่ Calcium hypochlorite [Ca(OCl)2] ,  Sodium hypochlorite [NaOCl] จะสูญเสียคลอรีนประมาณครึ่งหนึ่งทุกๆ 35 นาที เมื่อถูกแสงแดดการทำงานของคลอรีนในน้ำ Cl2 , H2O , HOCL (OCL) , Hypochlorous acid , Hypochloride ion
ถ้าน้ำมี pH ต่ำๆ HOCL จะมีมากกว่า [OCL] โดยจะเปลี่ยนเป็น HOCL มากขึ้น HOCL ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณไม่เกิน 2 วินาที [OCL] ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณ 30 นาที
อัตราส่วนของ HOCL และ [OCL] จะขึ้นกับ pH ของน้ำ ดังนี้
  - น้ำที่มี pH 7.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 75%
  - น้ำที่มี pH 7.4 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 52% (เพียงพอกับการฆ่าเชื้อ)
  - น้ำที่มี pH 8.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 25%
คลอรีนจะมีประสิทธิภาพสูง ที่ pH ต่ำ มากกว่า pH สูง ค่า pH ของน้ำต่ำเกินไปทำให้ คลอรีนสลายตัวเร็ว แต่ถ้า pH สูงเกินไป
ฤทธิ์การฆ่าเชื้อจะเสื่อมลงมาก
สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของสารที่ให้คลอรีน มีดังนี้
     o โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำ 40%) จะมีค่า pH ที่ 11.5
     o แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (ผง 65-70%) จะมีค่า pH ที่ 11.5
     o โซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (60%) จะมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกลาง (5.8-7.0)
     o กรดไตรคลอโรไอโซไซยานูริค(90%)จะมีค่าpHเป็นกรด (2.0-3.7)
     o ก๊าซคลอรีน จะมีค่า pH เป็นกรดสูง


This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy